Molecular Biology
การตรวจวิเคราะห์ทางชีวโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (Molecular biology) เป็นการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมโดยเทคนิคเพิ่มจำนวนชุดยีน DNA หรือ RNA ด้วยวิธี conventional PCR , real time PCR และ การหาลำดับเบสแบบ high-throughput DNA sequencing ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความไว และความจำเพาะ ใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการติดเชื้อ หรือโรคทางพันธุกรรมที่มาจากการบกพร่องของสารพันธุกรรม รวมถึงการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา ช่วยให้การวิเคราะห์โรคเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที
บริการตรวจวิเคราะห์ด้านอณูชีววิทยาของ บริษัท กรุงเทพ อาร์ ไอ เอ แล็บ ประกอบด้วย
1. HIV VIRAL LOAD การหาปริมาณไวรัสเอดส์
การตรวจหาปริมาณเชื้อ HIV-1 ในน้ำเหลือง เพื่อให้ทราบว่ามีจำนวนไวรัสในเลือดมากเพียงใด ยิ่งมีไวรัสมาก เซล CD4 ที่ทำหน้าที่ต้านทานโรคจะลดน้อยลง ความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นเอดส์จะมีมากขึ้น การตรวจจึงมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการพยากรณ์การดำเนินการของโรคและผลของการรับยาต้านไวรัส ไม่สามารถนำไปใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อหรือใช้ยืนยันการติดเชื้อ HIV-1ได้ ผลการตรวจแสดงเป็นจำนวนชุดของยีนที่ตรวจพบในเลือด 1 มล. โดยที่ไวรัส1อนุภาคประกอบด้วยยีน 1 ชุด การตรวจหาปริมาณ RNA ของเชื้อ HIV-1 สามารถทำได้ด้วยการสกัดสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสจากพลาสมาของผู้ป่วยที่เก็บในหลอด EDTA และนำไปเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยวิธี real time PCR วิธีนี้สามารถตรวจวัดปริมาณ HIV-1 RNA ได้ตั้งแต่ 20-10,000,000 ชุด/มล. องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ยีน 1 ชุด/มล.เทียบเท่ากับหน่วย 1.7 หน่วย IU/มล.
2. HBV VIRAL LOAD การหาปริมาณไวรัสตับอักเสบชนิดบี
การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี HBV ในน้ำเหลือง เพื่อติดตามการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบชนิดบีเรื้อรัง วิธีนี้ไม่สามารถใช้เพื่อการตรวจคัดกรองเลือดหรือผลิตภัณฑ์อื่นจากเลือดเพื่อวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ หรือใช้ยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี การตรวจหาปริมาณ DNA ของเชื้อ HBV ทำโดยการสกัดสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสจากพลาสมาของผู้ป่วยที่เก็บในหลอด EDTA และนำไปเพิ่มปริมาณพันธุกรรม ด้วยวิธี real time PCR ครอบคลุมการหาปริมาณไวรัส genotype A-H และ pre-core สามารถวัดปริมาณได้ตั้งแต่ 20-170,000,000 IU/mL กำหนดให้จำนวนหน่วย 1 IU/มล. เทียบเท่า HBV DNA 5.82 ชุด/มล.
3. HCV VIRAL LOAD การหาปริมาณไวรัสตับอักเสบชนิดซี
การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี HCV ในน้ำเหลือง เพื่อใช้ในการติดตามการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเท่านั้น วิธีนี้ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจคัดกรองเลือดหรือผลิตภัณอื่นจากเลือดเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ หรือใช้ยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี การตรวจหาปริมาณ RNA ของเชื้อ HCV สามารถทำด้วยการสกัดสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสจากพลาสมาของผู้ป่วยที่เก็บในหลอด EDTA และ นำไปเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม ด้วยวิธี real time PCR สามารถวัดปริมาณ ได้ตั้งแต่ 15-100,000,000 IU/mL
4. TB PCR – วัณโรค
การตรวจหาเชื้อกลุ่ม Mycobacteria tuberculosis (MTB complex) เป็นสาเหตุของวัณโรค ประกอบด้วย M. tuberculosis, M. bovis, M. africanum และ M. microti เป็นการตรวจหาชิ้นส่วนของยีน 16S rRNA โดยอาศัยเทคนิค real time PCR การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นการวินิจฉัยวัณโรคได้เร็วกว่าการเพาะเชื้อที่ใช้เวลาหลายเดือน จึงช่วยให้การวิเคราะห์โรคเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที
5. InfluA (H1N1 2009) ไข้หวัดใหญ่ 2009
การตรวจไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 2009 โดยปฏิกิริยา Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction อาศัยเทคนิค One Step RealTime PCR หรือ Conventional PCR ในการตรวจหาชิ้นส่วนของยีน โดยอาศัยไพร์เมอร์ที่มีความจำเพาะต่อยีน matrix protein (M2) และ Hemagglutinin (H1) ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 2009 สามารถตรวจได้จากสิ่งส่งตรวจที่เก็บมาจากการป้ายคอ, จมูก หรือน้ำที่ได้จากการกลั้วคอ
6. Denque serotypes ไข้เด็งกีและไข้เลือดออก
ไข้เด็งกีและโรคไข้เลือดออก (Dengue/ Dengue hemorrhagic fever) เกิดจากไวรัส Dengue ซึ่งมีอยู่ 4 serotypes คือ serotype 1,2,3 และ 4 ทั้ง 4 serotypes สามารถก่อให้เกิดไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค การตรวจหาเชื้อไวรัส Dengue ด้วยเทคนิค real time PCR สามารถระบุ serotypes ของเชื้อได้ นอกจากจะใช้เพื่อเป็นการตรวจเพื่อยืนยันว่าการป่วยนั้นเกิดจากไวรัสเด็งกี ยังมีความสำคัญในแง่ของการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกเด็งกีอีกด้วย
7. PCR for Thalassemia (alpha 1&2) ธาลัสซีเมีย
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างสายโกลบิน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามชนิดของสายโกลบิน ได้แก่ อัลฟาธาลัสซีเมีย (α –thalassemia) และ บีตาธาลัสซีเมีย (β–thalassemia) สำหรับการตรวจ α –thalassemia โดยเทคนิค Multiplex Polymerase Chain Reaction สามารถตรวจได้จากการตรวจหาการขาดหายไปของยีน α1 และ α2 ของ α-globin gene บนโครโมโซมคู่ที่ 16 ซึ่งสามารถแยกชนิดตามการขาดหายของยีนเป็น type ต่างๆ ดังนี้ SEA, THAI, MED, FIL 20.5 kb, 3.7 kb และ 4.2 kb deletion type
8. PCR for HSVI&II โรคเริม
โรคเริม เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus หรือเรียกสั้นๆว่า HSV ซึ่งมี 2 ชนิด คือ Type 1 และ Type 2 การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อดังกล่าวสามารถทำได้โดยอาศัยเทคนิค conventional PCR และ real time PCR จากสิ่งส่งตรวจที่ป้ายมาจากอวัยวะเพศ, รอยแผล, น้ำไขสันหลัง, และน้ำเหลือง
9. PCR for JAK2 V617F Mutation
การตรวจ JAK2 V617F Mutation โดยวิธี allele-specific PCR เป็นการตรวจการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่งนิวคลีโอไทด์ 617 ที่มีการแทนที่ของกรดอะมิโนจาก Valine (V) กลายเป็น Phenylalanine (F) การตรวจนี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการวินิจฉัยโรคกลุ่ม Myeloproliferative disorders (MPD) ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทำให้มีการผลิตเซลล์เม็ดโลหิตเพิ่มมากขึ้น กลุ่มโรค MPD ประกอบด้วย 3 โรคหลัก ได้แก่ Polycythemia Vera (PV), Essential Thrombocythemia (ET) และ Idiopathic Myelofibrosis (IMF)
10. NICE TEST
การตรวจกรองค้นหาการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรม โดยการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของลูกที่อยู่ในเลือดของแม่โดยใช้เทคโนโลยี high-throughput DNA sequencing เป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถตรวจพบทารกดาวน์ชนิด Trisomy 21 ได้ถึงร้อยละ 99 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นที่มีใช้ในปัจจุบัน เช่น การตรวจความหนาหนังคอทารก (NT), การตรวจน้ำเหลืองประเมินค่าจากตัวบ่งชี้ 3 ชนิด และ 4ชนิด ซึ่งสามารถตรวจพบได้เพียงร้อยละ 60-85 เท่านั้น การตรวจ NICE ยังเป็นการตรวจกรองที่ไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ ช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งจากความผิดพลาด
รายละเอียดการตรวจ Nice test ติดตามได้จากหน้าเวปไซต์ https://www.niceforthai.com