Clinical Lab
บริษัท กรุงเทพ อาร์ ไอ เอ เเล็บ ของเรามีบริการการตรวจหาความผิดปกติในร่างกายจากของเหลวต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำลาย หรือเรียกสั้นๆ ว่า Clinical Lab โดยใช้วิธีวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน โดยทีมงานนักเทคนิคการเเพทย์ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและรวดเร็ว
Type of Tests ชนิดของการตรวจ
1. Autoimmune disease โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง
โรคภูมิแพ้ตัวเอง, โรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง หรือโรคที่ชาวบ้านรู้จักกันว่าโรคพุ่มพวง เกิดขึ้นเมื่อมีภูมิต้านทานผิดปกติต่อแอนติเจนของเนื้อเยื่อ ของร่างกายตนเอง เกิดการทำลายเนื้อเยื่อโดยตรง จากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ หรือไปกระตุ้นยับยั้งการทำงานบางอย่างภายในร่างกาย ลักษณะของการทำลายเนื้อเยื่ออาจเกิดที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งโดยเฉพาะ หรือเกิดขึ้นโดยไม่จำกัดกับเนื้อเยื่อหลายๆอวัยวะ โรคเหล่านี้หลายชนิดสามารถตรวจน้ำเหลืองได้ทางห้องปฏิบัติการ
2. Allergy โรคภูมิแพ้
การค้นหาว่าร่างกายแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใด อาจทำได้โดยการการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgE ที่ร่างกายสร้างขึ้น ต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นอย่างจำเพาะ การเกิดภูมิแพ้อาจมาจากการสัมผัสโดน ผ่านทางการหายใจ หรือการรับประทาน เช่น ไรฝุ่น, แมลงสาป, เกสรดอกไม้, ถั่ว, นมวัว เป็นต้น การหาสารก่อภูมิแพ้แต่เดิมอาศัยการทดสอบหยดสารก่อภูมิทางผิวหนังบริเวณหลังและท้องแขน ซึ่งสร้างรอยผื่นคันนาน บางคนอาจมีอาการรุนแรงและลุกลาม การค้นหาสารก่อภูมิด้วยการตรวจหา IgE ในเลือดเป็นทางออกที่ง่ายและสดวกกว่าวิธีการเดิมเป็นอันมาก การเจาะเลือดตรวจช่วยให้ผู้ป่วยทราบว่าแพ้อะไร ควรหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ห่างจากสารก่อภูมิได้อย่างไร
3. Hormone ระดับของฮอร์โมน
การตรวจหาระดับของฮอร์โมน ต่างๆ ช่วยให้ค้นหาสาเหตุของความเจ็บป่วยที่เกิดจากฮอร์โมนหลั่งมากหรือน้อยกว่าปกติ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ, กลุ่มวัยทอง, การควบคุมระดับของเกลือแร่และธาตุสำคัญเช่นเหล็ก เป็นการตรวจน้ำเหลืองหรืออิมมูโนโลยี
4. Infectious diseases โรคติดเชื้อ
การตรวจหาโรคติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรียวิธีที่สดวกและรวดเร็วที่สุดคือการตรวจทางน้ำเหลืองหรืออิมมูโนโลยี สามารถตรวจหาได้จากแอนติเจนหรือชิ้นส่วนของเชื้อ และตรวจหาแอนติบอดีซึ่งเป็นภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตอบสนอง เช่น โรคเอดส์, ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี, หัดเยอรมัน, โรคฉี่หนู เป็นต้น
5. Tumor markers สารบ่งชี้มะเร็ง
การตรวจหาสารบ่งชี้ที่เซลมะเร็งสร้างและหลั่งออกมาในกระแสเลือด สามารถใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งบางชนิดในระยะเริ่มต้น, ใช้ในการประเมินผลการรักษา และใช้ในการวินิจฉัยการกลับมาเป็นซ้ำ
6. Blood Chemistry เคมีของเลือด
การตรวจหาค่าทางเคมีต่างๆในเลือด เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ และบ่งบอกความสมบูรณ์ของร่างกาย การตรวจหา ระดับของไขมัน คลอเรสเตรอล น้ำตาลกลูโคส กรดยูริค เอนไซม์ที่สร้างจากตับ ระดับของโปรตีน เกลือแร่ต่างๆ ค่าที่ผิดปกติอาจอธิบายถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดำเนินและใช้ในการพยากรณ์โรค เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคเกาท์ ภาวะไตวาย เป็นต้น
7. CBC, UA ความสมบูรณ์ของเลือดและการวิเคราะห์ปัสสาวะ
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและการตรวจปัสสาวะ สามารถบ่งบอกระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย, โรคประจำตัวและความเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคโลหิตจาง, โรคติดเชื้อ, โรคนิ่ว, การทำงานของของไตและตับ แม้กระทั่งมะเร็งบางชนิด
8. Bacterial culture การเพาะเชื้อแบคทีเรีย
การเพาะเชื้อเพื่อหาชนิดของเชื้อสาเหตุที่ก่อโรค สามารถตรวจสอบความไวและการดื้อต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อนั้นๆ จึงเป็นประโยชน์กับการรักษา โดยเฉพาะกับการติดเชื้อในกระแสเลือด, การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, การติดเชื้อราและยีสต์ เป็นต้น
9. Viral load การหาปริมาณไวรัส
การนับจำนวนเชื้อไวรัสในกระแสเลือดเพื่อดูการตอบสนองของยา ในการนับจะนับเป็นจำนวนชุดยีน โดยที่ไวรัส 1 อนุภาคมีจำนวนยีนเพียงชุดเดียว
10. Genetic disorders โรคที่เกิดจากพันธุกรรมบกพร่อง
การตรวจระดับยีนเพื่อหาความผิดปกติที่แฝงอยู่ เช่น การตรวจหาพาหะธาลัซซีเมีย การตรวจหายีนดื้อยาของไวรัส ฯลฯ
11. Triple markers ตัวชี้บ่งการตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
การเจาะเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวชี้บ่งเคมีในเลือดที่จำเพาะสามชนิด( triple markes) หรือสี่ชนิด (quad markers) เพื่อประเมินหาค่าความเสี่ยงการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรม
12. Heavy metal and toxic substances โลหะหนักและสารพิษ
การตรวจหาสารพิษและโลหะหนักในร่างกาย สามารถตรวจในน้ำเหลือง บางชนิดตรวจได้ในปัสสาวะ